ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดิน
นอกจากค่าที่ดิน และค่านายหน้าซื้อขาย( ถ้ามี )แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่ทางรัฐโดยกรมที่ดินจะเรียกเก็บเมื่อมีการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอีก คือ
ค่าคำขอโอนที่ดิน 5 บาท
ค่าอากร 5 บาท
ค่าพยาน 20 บาท
ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ( โดยปกติผู้ขายเป็นผู้จ่าย หรือ แบ่งจ่ายระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อคนละครึ่ง ) โดยค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะมีอัตราอยู่ที่ 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย โดยให้ยึดจากราคาที่สูงกว่า
ค่าจดจำนองมีอัตราอยู่ที่ 1% ของมูลค่าที่จดจำนอง แต่ไม่เกินหนึ่งแสนบาท สำหรับผู้ที่ต้องกู้เงินจากธนาคารมาซื้อ ( โดยปกติผู้ซื้อเป็นผู้จ่าย )
ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือ ค่าอากรแสตมป์ใบรับ ( โดยปกติผู้ขายเป็นผู้จ่าย ) กรณีเป็นการขายที่ดินในเชิงธุรกิจเพื่อการค้ากำไร จะต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะอัตรา 3.3% ของราคาประเมินหรือราคาขาย โดยให้ยึดจากราคาที่สูงกว่า หรือค่าภาษีนี้จะต้องเสียถ้าผู้ขายถือครองที่ดินที่ขายนี้ยังไม่ถึง 5 ปี ทั้งนี้ถ้ากรมที่ดินได้พิจารณาแล้วว่าการซื้อขายที่ดินนี้ไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ใบรับแทน โดยค่าอากรแสตมป์ใบรับมีอัตรา 0.5% ของราคาประเมินหรือราคาขาย โดยให้ยึดจากราคาที่สูงกว่า
ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ( โดยปกติผู้ขายเป็นผู้จ่ายภาษีนี้ ) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายนี้จะถุกคิดจากราคาประเมินของกรมที่ดิน และคำนวนตามฐานภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด
หมายเหตุ
-ข้อมูลข้างต้นคือค่าโอนที่ดินที่กรมที่ดินจะเรียกเก็บในปี 2565 ( 2022 ) ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2562
-ควรมีการตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่รัฐจะเรียกเก็บในปัจจุบันก่อนเสมอ เพระรัฐมักมีประกาศมาตราการพิเศษอยู่บ่อยๆ เช่น มาตราการพิเศษเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 รัฐให้ปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนและจำนอง เป็นต้น
"อย่าคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า"
#ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดิน #ค่าใช้จ่ายโอนที่ดิน #ค่าซื้อขายที่ดิน #ค่าโอนที่ดิน #ค่าอากรโอนที่ดิน #ค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน #ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ #ค่าจดจำนอง #ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ #ค่าอากรแสตมป์ใบรับ #ค่าภาษีเงินได้หักณที่จ่ายโอนที่ดิน
コメント