การนอนหลับเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับมนุษย์เรา แต่จากการสำรวจพบว่า ในคืนหนึ่งๆจะมีคนประมาณ 1 ใน 3 ที่มีปัญหาการนอน นอนหลับยาก หรือนอนหลับได้ไม่นาน ทำให้นอนไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อ
สมรรถภาพทางร่างกายทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ยิ่งนานไปจะทำให้เกิดผลต่อสุขภาพตามมา
ลองมาสำรวจตัวคุณเองดูว่ามีความผิดปกติด้านการนอนหรือไม่
- นอนหลับยาก หรือนอนหลับได้ไม่นาน
- ไม่รู้สึกสดชื่นหรือไม่รู้สึกว่าได้พักผ่อน หลังจากที่ได้นอนแล้ว
- ง่วงนอนมากในเวลากลางวัน
- เกิดอาการง่วงนอนขึ้นมากระทันหันอย่างฝืนไม่ได้
- กำหนดการทำงานไม่สอดคล้องกับการนอนปกติ เนื่องจากการเดินทาง
หรือทำงานเป็นผลัด
- ไม่สามารถนอนหลับหรือตื่นขึ้นได้ตามเวลาที่เคยตื่น หรือตามเวลาที่ต้องการได้
- ฝันร้ายหรือทำให้ตกใจมาก
- ผวาลุกขึ้นร้องหวาดกลัวกลางดึก โดยที่ตอนเช้าจำไม่ได้ว่าตนเองฝันอะไร
- ละเมอลุกขึ้นทำอะไรเป็นประจำและวันรุ่งขึ้นก็จำไม่ได้ว่าละเมอ
อาการผิดปกติด้านการนอนหลับ อาจมีสาเหตุมาจากความเครียด, ความเหนื่อยล้าจากการทำงาน, ความเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือจากเหตุปัจจัยต่างๆที่ได้เราทำมา
วิธีแก้ไขมีหลายวิธี เช่น การปรับการใช้ชีวิตให้เกิดความสมดุล มีทั้งเวลาทำงาน เวลาลาพักผ่อน เวลาออกกำลังกายรวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด นอนไม่หลับเนื่องจากคิดไม่หยุด หรือฟุ้งซ่าน ให้นอนทำสมาธิด้วยการนอนรู้ลมหายใจ เมื่อเกิดความคิดผุดขึ้นมา ให้รีบทิ้งความคิดนั้นไป และกลับมารู้ที่ลมหายใจ ที่กำลังไหลเข้าและไหลออก เมื่อเกิดความคิดขึ้นอีกก็สลัดมันทิ้งอีก ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ความคิดฟุ้งซ่านจะลดลง และเกิดช้าขึ้น ทำให้เราค่อยๆสงบ ผ่อนคลาย และสามารถนอนได้อย่างสบาย โดยไม่ต้องกินยาระงับประสาทหรือยาคลายเส้นใดๆ
กรณีนอนไม่หลับเนื่องจากจิตตก ผิดหวัง เสียใจ... ให้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าตอนนอน ตั้งใจฟังและคิดใคร่ครวญเรื่องที่พระองค์สอน เมื่อฟังไปเรื่อยๆบ่อยๆจะเข้าใจธรรมะ เมื่อฟังได้เข้าใจแล้วจะเกิดปิติ และร่างกายจะสงบระงับ มีความสุข เมื่อมีความสุข จิตจะตั้งมั่นมีสมาธิ และเมื่อเราน้อมจิตไปเพื่อการนอน ก็จะสามารถนอนหลับได้อย่างสบาย
การตั้งจิตก่อนนอน ( พุทธวจน บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๓๘/๓๔๘ )
อานนท์ ! ถ้าเมื่อภิกษุนั้น ... จิตน้อมไปเพื่อ การนอน, เธอก็ นอนด้วยการตั้งใจว่า “บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคือ อภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้นอนอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งการนอนนั้น.
" อย่าคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า "
พุทธวจน
Comments